(Thai version below)

Aujourd'hui - 22 février 2024 - marque le premier anniversaire de l'entrée en vigueur en Thaïlande de la loi sur la prévention et la répression de la torture et des disparitions forcées B.E. 2565 (la loi anti-torture).

L'adoption de cette loi a constitué une étape importante pour le pays dans la mise en œuvre de ses obligations au titre de la Convention des Nations unies contre la torture (UNCAT).

"Un an plus tard, nous pouvons constater à quel point cette loi a contribué à modifier les actions et les attitudes en Thaïlande", a déclaré Barbara Bernath, secrétaire générale de l'APT.

Sur la scène internationale, la Thaïlande a retiré les déclarations interprétatives des articles 1 (définition de la torture), 4 (criminalisation de la torture) et 15 (compétence en matière de torture) de l'UNCAT.

Au niveau national, la nouvelle loi a contribué à galvaniser l'engagement du pays en faveur de la prévention et de la lutte contre la torture. Une affaire récente impliquant un homme qui a avoué le meurtre de sa femme, prétendument sous la contrainte des forces de l'ordre thaïlandaises, a mis en lumière la question des interrogatoires fondés sur des aveux et le recours à la torture.

Alors que la Thaïlande réfléchit aux progrès réalisés au cours des douze derniers mois dans la mise en œuvre de sa loi anti-torture, il convient de poursuivre les efforts visant à garantir la sécurité et les droits des personnes en détention.

Barbara Bernath, secrétaire générale de l'APT

Selon les médias, le corps d'une femme a été retrouvé dans un étang à Aranyaphrathet, en Thaïlande, le 12 janvier 2024. Le mari de la femme a été rapidement arrêté par la police et a reconnu le crime le jour même. Cependant, des journalistes d'investigation ont découvert une autre histoire. Les images de vidéosurveillance de la région ont montré cinq adolescents en train de commettre le meurtre et de se débarrasser du corps dans l'étang. L'un des adolescents était le fils d'un officier de police.

Le mari de la femme a par la suite affirmé que la coercition - y compris le déshabillage forcé, l'enchaînement des chevilles et la menace d'étouffement avec un sac en plastique - avait été utilisée pendant son interrogatoire.

En réponse à l'allégation de l'homme, le département thaïlandais des enquêtes spéciales (DSI) a réagi rapidement et a pu utiliser le mandat spécial prévu par la loi anti-torture.

M. Angsuket Visuthvatanasak, directeur du Bureau des affaires d'application de la justice au sein du DSI, a déclaré à l'APT que le DSI se coordonnerait avec les autorités compétentes pour garantir la transparence des procédures judiciaires à l'encontre des officiers de police, conformément à la loi anti-torture.

Pour compléter la législation thaïlandaise contre la torture, il est clair qu'il reste nécessaire de mettre pleinement en œuvre les garanties juridiques et procédurales pendant la garde à vue, comme le prévoient les Principes relatifs à l'efficacité des entretiens aux fins d'enquête et de collecte d'informations, également connus sous le nom de Principes de Méndez.

Il s'agit notamment d'abandonner les méthodes d'interrogatoire coercitives au profit d'entretiens d'investigation, de mettre en œuvre l'enregistrement audio et vidéo des interrogatoires et de mettre en place un système de surveillance des lieux de détention.

La Thaïlande s'est jointe à plus de 60 autres États à l'Assemblée générale des Nations unies pour exprimer son soutien aux principes Méndez.

Ces dernières années, l'APT a travaillé avec les autorités thaïlandaises pour renforcer les connaissances et les capacités en matière de prévention de la torture, notamment en organisant des ateliers sur les principes Méndez avec l'Académie des cadets de la police royale (RPCA) et d'autres forces de l'ordre.

S'appuyant sur cette collaboration, le lieutenant-colonel Kiattisak Chanjana de la RPCA a souligné l'engagement de l'institution à développer un programme de formation aux entretiens de police aligné sur les obligations de la loi anti-torture, soulignant l'importance pour les nouvelles recrues d'adopter une approche qui s'oppose strictement à l'utilisation de la torture dans les pratiques d'enquête.

En mars, l'APT organisera un atelier de formation des formateurs, en collaboration avec la RCPA et la police néo-zélandaise, axé sur les entretiens basés sur les rapports.

En outre, l'APT a récemment organisé un dialogue national en Thaïlande sur la ratification du Protocole facultatif à la Convention des Nations Unies contre la torture (OPCAT) qui, entre autres, crée un système de visites régulières et annoncées dans les lieux de détention, y compris les commissariats de police.

Le dialogue national - organisé le 9 février 2024, en partenariat avec le Département de protection des droits et libertés de Thaïlande et le HCDH - a rassemblé des représentants de plus de 26 institutions gouvernementales différentes.

L'APT a également collaboré avec la Commission nationale des droits de l'homme de Thaïlande, en organisant des sessions pour approfondir la compréhension des principes de l'OPCAT et de la méthodologie de suivi.

"Notre travail avec les autorités thaïlandaises et les forces de l'ordre a mis en lumière le désir sincère de nombreux acteurs de procéder à des changements pratiques dans le système de justice pénale du pays. L'APT continuera à soutenir les efforts de la Thaïlande afin que chaque personne puisse être en sécurité en détention", a déclaré Mme Bernath.

ประเทศไทย: ทบทวนบทบาทของกฎหมายต่อต้านการทรมานในหนึ่งปีที่ผ่านมา 

 

วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567 ถือเป็นวันครบรอบหนึ่งปีของการบังคับใช้ พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย พ.. 2565 (กฎหมายต่อต้านการทรมาน) ในประเทศไท การบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวถือเป็นก้าวสำคัญของประเทศในการดำเนินการตามพันธกรณีภายใต้อนุสัญญาต่อต้านการทรมานของสหประชาชาติ (UNCAT) 

“ในหนึ่งปีที่ผ่านมา เราจะเห็นได้ว่ากฎหมายฉบับนี้เป็นตัวขับเคลื่อนด้านการบังคับใช้หลักประกันสิทธิขั้นพื้นฐาน (safeguards) ให้กับประชาชนอย่างเข้มงวด ทั้งทัศนคติของผู้มีอำนาจทางกฎหมายยังมีความก้าวหน้าขึ้น” บาร์บารา เบอร์นาธ เลขาธิการ APT  

ในเวทีระหว่างประเทศ ประเทศไทยได้ถอนคำแถลงตีความ (the interpretative declation) ในข้อบทที่ 1 (คำนิยามการทรมาน) ข้อบทที่ 4 (การกำหนดให้การพยายาม การสมรู้ร่วมคิด และการมีส่วนร่วมในการกระทำทรมานเป็นความผิดที่ลงโทษได้ตามกฎหมายอาญา) และข้อบทที่ 5 (เขตอำนาจศาลสากลเหนือความผิดฐานกระทำทรมาน) อย่างเป็นทางการ  โดยองค์การสหประชาชาติได้แจ้งเวียนตราสารดังกล่าวของไทยแล้ว และกำหนดให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2566 เป็นต้นไป 

ในส่วนของการบังคับใช้กฎหมายต่อต้านการทรมานในระดับชาติ พระราชบัญญัติฉบับนี้ได้ผลักดันให้เจ้าหน้าที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทำงานอย่างแข็งขันในการป้องกันและปราบปรามการซ้อมทรมาน 

ในขณะที่ประเทศไทยมีความก้าวหน้าในการบังคับใช้กฎหมายต่อต้านการทรมานในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจะต้องไม่ลืมว่า รัฐยังจะต้องมุ่งเน้นการใช้หลักประกัันสิทธิขั้นพื้นฐาน เช่น สิทธิในการเข้าถึงญาติ ทนาย และแพทย์ ให้แก่บุคคลที่ถูกควบคุมตัวควบคู่กันไป บาร์บารา เบอร์นาธ เลขาธิการ APT 

ในช่วงเดือนมกราคม พ.ศ. 2567 มีการรายงานข่าวเกี่ยวกับคดีฆาตรกรรม หญิงสาววัย 47 ปี  โดยศพของผู้หญิงคนดังกล่าวถูกพบที่สระน้ำข้างโรงเรียนในพื้นที่ ในอำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว โดยสามีของผู้ตายมาพบเจ้าหน้าที่ตำรวจและให้การรับสารภาพว่าตนเองเป็นผู้ก่อเหตุทำร้ายร่างกายภรรยาจนเสียชีวิต 

อย่างไรก็ตาม สื่อมวลชนแห่งหนึ่งได้ทำการค้นหาความจริง และพบข้อมูลเพิ่มเติมหลังจากการตรวจสอบกล้องวงจรปิดด้านหน้าทางเข้าข้างสถานีตำรวจภูธร อำเภออรัญประเทศ และโรงพยาบาลอรัญประเทศ พบผู้ก่อเหตุที่แท้จริงเป็นกลุ่มวัยรุ่น 5 คน อายุระหว่าง 13-16 ปี ที่เข้าทำร้ายหญิงสาววัย 47 ปีและนำร่างไปทิ้งสระน้ำจนเสียชีวิต โดยหนึ่งในกลุ่มวัยรุ่นนี้ เป็นบุตรชายของเจ้าหน้าที่ตำรวจเจ้าของคดี 

ต่อมาสามีของหญิงที่เสียชีวิตได้รับการปล่อยตัว และให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนถึงสาเหตุที่ยอมรับสารภาพ โดยอ้างว่ามีการใช้การบังคับทางร่างกาย เช่น การบังคับเปลื้องผ้า การผูกข้อเท้า และการขู่ว่าจะทำให้หายใจไม่ออกด้วยการคลุมถุงพลาสติก ในระหว่างการสอบสวนของเขา 

ในการนี้ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ของประเทศไทยเห็นถึงความสำคัญของคดี จึงได้ใช้อำนาจภายใต้กฎหมายต่อต้านการทรมานได้ในมาตรา 31 ที่ระบุให้อำนาจสอบสวนกับกรมสอบสวนคดีพิเศษ โดยดีเอสไอจะเสนอเรื่องผ่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม จากนั้นจึงจะมีการสอบสวนร่วมกันทั้ง 4 หน่วยงานตามมาตรา 31 เพื่อให้เกิดความโปร่งใส 

นายอังศุเกศ วิสุทธิวัฒนศักดิ์ ผู้อำนวยการกองกิจการอำนวยความยุติธรรม ของ DSI กล่าวกับ APT ว่า DSI จะประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อความโปร่งใสในการดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ตำรวจตามกฎหมายต่อต้านการทรมาน โดยกระบวนการจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย เพื่อส่งเสริมการบังคับใช้กฎหมายต่อต้านการทรมานของประเทศไทย  

จากกรณีดังกล่าว เห็นได้ชัดว่าประเทศไทยยังคงมีความจำเป็นที่จะต้องใช้มาตรการคุ้มครองทางกฎหมายและกระบวนการอย่างเต็มที่ในระหว่างการควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ดังที่ระบุในหลักการว่าด้วยการสัมภาษณ์อย่างมีประสิทธิผลเพื่อการสืบสวนและการรวบรวมข้อมูล หรือที่เรียกว่าหลักการเมนเดซ ที่มุ่งเน้นการยกเลิกวิธีการสืบสวนสอบสวนเชิงบีบบังคับไปสู่การสัมภาษณ์เพื่อค้นหาความจริง (investigative interviewing) โดยให้ความสำคัญกับการบันทึกภาพและเสียงในระหว่างการสัมภาษณ์ และจัดให้มีระบบตรวจสอบที่โปร่งใสในสถานที่ควบคุมตัว 

สำหรับประเทศไทยได้เข้าร่วมกับรัฐอื่นๆ มากกว่า 60 รัฐในสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติเพื่อแสดงการสนับสนุนหลักการเมนเดซ  

APT ได้ทำงานร่วมกับหน่วยงานรัฐในประเทศไทยเพื่อเสริมสร้างความรู้ในการป้องกันการทรมาน รวมถึงการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับหลักการเมนเดซร่วมกับโรงเรียนนายร้อยตำรวจ และหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายอื่นๆ 

จากความร่วมมือครั้งนี้ ... เกียรติศักดิ์ จันจะนะ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ เน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นของสถาบันในการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการสัมภาษณ์ของเจ้าหน้าตำรวจให้สอดคล้องกับการบังคับใช้กฎหมายต่อต้านการทรมาน โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญในการสร้างตำรวจรุ่นใหม่ให้มีทัศนคติและทักษะความรู้ในการนำแนวทางที่ต่อต้านการใช้การทรมานในการสืบสวนสอบสวนอย่างเคร่งครัด 

ในเดือนมีนาคมที่จะถึงนี้ APT จะจัดการสัมมนาการฝึกอบรมผู้ฝึกสอนการสืบสวนสอบสวนอีกครั้ง โดยเป็นความร่วมมือระหว่าง APT โรงเรียนนายร้อยตำรวจและตำรวจนิวซีแลนด์ โดยมุ่งเน้นการใช้ทักษะการสัมภาษณ์โดยการสร้่างความสัมพันธ์ในการค้นหาความจริง  

นอกจากนี้ APT ได้จัดการประชุมระดับชาติในประเทศไทยเกี่ยวกับการให้เข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาต่อต้านการทรมานแห่งสหประชาชาติ (OPCAT) โดยเน้นย้ำการสร้างระบบสำหรับการตรวจเยี่ยมสถานที่ควบคุมตัวอย่างเป็นประจำและไม่แจ้งล่วงหน้า  

การประชุมระดับชาติซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ .. 2567 โดยความร่วมมือกับกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประเทศไทย OHCHR และสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย ได้เชิญตัวแทนจากสถาบันภาครัฐต่างๆ มากกว่า 26 แห่งเข้าร่วมรับฟังการบรรยายให้และให้ความเห็นต่อการเข้าเป็นภาคีพิธีสารฉบับนี้  

APT ยังร่วมมือกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของประเทศไทย ในการจัดการอบรมเพื่อสร้างความเข้าใจหลักการ ต่างๆ ภายใต้ OPCAT และวิธีการตรวจเยี่ยมให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น 

“การทำงานของเอพีทีกับหน่วยงานรัฐและเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายของประเทศไทย เป็นนิมิตหมายสำคัญที่แสดงให้เห็นว่ารัฐไทยมีความมุ่งมั่นอย่างแท้จริงในการดำเนินการเปลี่ยนแปลงเชิงปฏิบัติที่ครอบคลุมทั้งกระบวนการยุติธรรมทั่วประเทศ APTจะสนับสนุนความพยายามของประเทศไทยต่อไป เพื่อเป้าหมายสูงสุดว่า ประชาชนทุกคนจะได้รับความคุ้มครองและมีความปลอดภัยในขณะถูกควบคุมตัวเลขาธิการ APT กล่าว 

 

News Monday, March 11, 2024

Écrit par